รอยเท้ายาปฏิชีวนะ (Antibiotic Footprint)
  
คำแปล

คำนาม. เครื่องมือในการให้ข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับปริมาณการใช้ยาปฏิชีวนะ ทั้งการใช้ยาปฏิชีวนะในคนและในสัตว์ 

 

“รอยเท้ายาปฏิชีวนะช่วยให้เราตระหนักถึงปริมาณของยาปฏิชีวนะที่ใช้ในแต่ละคน ในแต่ละประเทศ และทั่วโลก” [1]

 

“ทำอย่างไรเราจึงสามารถลดรอยเท้ายาปฏิชีวนะของเราได้”

 

“รอยเท้ายาปฏิชีวนะของเราประกอบไปด้วย การใช้ยากับเราทางตรง และทางอ้อมโดยการใช้ในสัตว์และสิ่งอื่นๆ ที่เราบริโภคในแต่ละวัน” [1]

คลังการเรียนรู้

รอยเท้ายาปฏิชีวนะคืออะไร?

 

รอยเท้ายาปฏิชีวนะเป็นเครื่องมือในการนำเสนอปริมาณของการใช้ยาปฏิชีวนะในประชากร ในประเทศ ทั้งทางตรงที่ใช้ในคน และทางอ้อมที่ใช้ในอุตสาหกรรมการเกษตรที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม[1]

 

รอยเท้ายาปฏิชีวนะมีความคล้ายคลึงกันกับ "รอยเท้าคาร์บอน" (รูปที่ 1) ในขณะที่เราต้องใช้พลังงานเพื่อความอยู่รอด แต่การใช้พลังงานเกินจำเป็นก็ทำให้เกิดสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงทั่วโลก (หรือที่เรียกว่า “โลกร้อน”) ในทำนองเดียวกันเวลาที่เราติดเชื้อแบคทีเรีย เราต้องใช้ยาปฏิชีวนะ (หรือที่คนไทยมักเรียกว่า “ยาแก้อักเสบ”) เพื่อช่วยให้เรารอดชีวิต แต่ การใช้ยาปฏิชีวนะเกินจำเป็นและอย่างไม่ถูกต้องได้ก่อให้เกิดเชื้อดื้อยา

 

เมื่อเชื้อแบคทีเรียเกิดการดื้อยาปฏิชีวนะแทบทุกชนิดที่ใช้ในการรักษา เราจะเรียกเชื้อเหล่านี้ว่า "ซูเปอร์บั๊ก (superbugs)" หากปราศจากการร่วมมือจากทุกคนเพื่อลดการใช้ยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็น ผู้คนจำนวนมากก็จะเสียชีวิตจากเชื้อดื้อยา 

 

เราสามารถวัดรอยเท้ายาปฏิชีวนะในแต่ละประเทศโดยรวมปริมาณยาปฏิชีวนะที่บริโภคในประเทศนั้นทั้งในคนและในสัตว์ (รูปที่ 2) การใช้ยาปฏิชีวนะในการเกษตรถือเป็นส่วนสำคัญของรอยเท้ายาปฏิชีวนะเนื่องจากยาปฏิชีวนะส่วนใหญ่ที่ผสมในอาหารสัตว์จะถูกขับลงสู่ระบบบำบัดน้ำเสียและสู่แหล่งน้ำซึ่งเป็นการช่วยกระตุ้นและสนับสนุนให้เชื้อแบคทีเรียในสิ่งแวดล้อมดื้อยา และเชื้อดื้อยาในสิ่งแวดล้อมก็สามารถติดเชื้อสู่คนได้

 

 

 


 

 

QAg4

รูปที่ 1: รอยเท้าคาร์บอน (ซ้าย) และ รอยเท้ายาปฏิชีวนะ (ขวา)

 

 

รูปที่ 2: รอยเท้ายาปฏิชีวนะในปี พ.ศ. 2558 (ในประเทศที่ประกาศข้อมูลปริมาณการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างเป็นทางการ)

 

ท่านสามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ 'รอยเท้ายาปฏิชีวนะ' ได้ที่ www.antibioticfootprint.net

 

เอกสารอ้างอิง

1 AntibioticFootprint. (n.d.). Retrieved from http://www.antibioticfootprint.net/

2 Limmathurotsakul, D., Sandoe, J. A., Barrett, D. C., Corley, M., Hsu, L. Y., Mendelson, M., . . . Howard, P. (2019). ‘Antibiotic footprint’ as a communication tool to aid reduction of antibiotic consumption. Journal of Antimicrobial Chemotherapy. doi:10.1093/jac/dkz185

 

 


 

คำที่เกี่ยวข้อง
ดาวน์โหลด

ดาวน์โหลดพจนานุกรมฉบับภาษาไทยได้ที่นี่